ประเภทองค์กรใน บัญชี 1, 2 และ 3 ที่ต้องมี จป. ตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

by pam
87 views

อุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมีหลายประเภท ซึ่งบางกลุ่มอาจมีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ตามลักษณะการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมที่ทำงานทำให้กฎหมายได้ออกมากำหนด ในการแต่งตั้งตำแหน่ง ” เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ” เพื่อเข้ามาช่วยประสานงานดูแลความปลอดภัยของพนักงานในองค์กรให้มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุน้อยลง

สถานประกอบการในบัญชี 1,2 และ 3 ตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

โดยกำหนดตามกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ที่ได้แนบไว้ท้ายกฎหมายได้กำหนดประเภทองค์กรที่ต้องมี จป ดังนี้

สถานประกอบการบัญชีที่ 1

บัญชี 1

  1. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  2. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
  4. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
  5. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ

สถานประกอบการบัญชีที่ 2

บัญชี 2

  1. อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
  2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
  3. อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
  4. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
  5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  6. อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
  7. อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
  8. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
  9. อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
  10. อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
  11. อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
  12. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
  13. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
  14. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
  15. อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
  16. อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  17. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  18. อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
  19. อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
  20. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
  21. อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
  22. อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
  23. อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
  24. อุตสาหกรรมของเล่น
  25. อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
  26. อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
  27. อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
  28. อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
  29. อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
  30. อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
  31. สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
  32. คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
  33. การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  34. อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
  35. อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  36. การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
  37. อุตสาหกรรมการขนส่ง
  38. การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
  39. กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
  40. กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
  41. การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
  42. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  43. กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
  44. ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
  45. ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
  46. โรงพยาบาล
  47. การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
  48. การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
  49. สวนสัตว์หรือสวนสนุก

สถานประกอบการบัญชีที่ 3

บัญชี 3

  1. ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
  2. ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  3. สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
  4. การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
  5. โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
  6. โรงถ่ายทำภาพยนต์หรือละคร
  7. สวนพฤกษศาสตร์
  8. สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
  9. สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
  10. สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2

ต้องมี จป แต่ละระดับกี่คน

เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยกันมาก ว่าองค์กรของตนต้องมี จประดับอะไรบ้าง มีกี่คน มีเมื่อไหร่ ก่อนอื่นเลยไล่เรียงลำดับโดยพิจารณาจาก

  • องค์กรของเราจัดอยู่ในบัญชีที่เท่าไหร่ มีกำหนดไว้ด้านบน (บัญชี 1,2 หรือ 3)
  • ดูจำนวนพนักงานในองค์กรครบตามกำหนดหรือยัง (สามารถดูได้ทางช่องซ้ายของตาราง)
  • จากนั้นไล่เรียงดูตำแหน่งที่องค์กรของเราต้องมี นอกจากนี้อย่าลืมดูเวลาการส่งลูกจ้างที่ถูกแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานในแต่ละระดับ เข้าอบรมให้ตรงกับหลักสูตรตามกฎหมาย
  • เมื่อผ่านอบรมจะได้วุฒิบัตรสำหรับผู้ผ่านอบรม ต้องนำไปขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแต่ละจังหวัด (ตามที่อยู่ของจังหวัดโรงงานที่ทำงานอยู่) โดยส่งภายใน 30 วัน

หลักสุตรที่รองรับ ตามจำนวนการรับอบรม จป คปอ. และตำแหน่งอื่นๆ

แนะนำศูนย์ฝึกอบรม จป ที่ได้มาตรฐาน

หากคุณกำลังมองหาศูนย์ฝึกที่ได้มาตรฐาน ได้รับอนุญาตในการจัดอบรมตามกฎหมาย สามารถนำวุฒิบัตรไปใช้ขึ้นทะเบียนได้อย่างแน่นอน เราขอแนะนำ ศูนย์ฝึกอบรมจป Thaisafe ที่ได้รวมหลักสูตรด้านความปอลดภัยมากมายไม่ว่าจะเป็น

  • หลักสูตรจป หัวหน้างาน
  • หลักสูตรจป บริหาร
  • หลักสูตร คปอ

ทั้งแบบอินเฮ้าส์ (เดินทางสอนถึงสถานที่) และแบบบุคคลทั่วไป (ผู้เข้าอบรมเดินทางมาที่ศูนย์ฝึก) สามารถเลือกดู หลักสูตรอบรม จป <—ได้ที่นี่

สรุป

สำหรับทุกประเภทของอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ การมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยที่มีความรู้ความสามารถและความใส่ใจในการดูแลเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสถานที่ทำงานมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานและบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานมาตรฐานสากล

LINE

เพิ่มเพื่อน

Copyright @2024  All Right Reserved – Designed and Developed by thaisafe.net