รวมความแตกต่างของ จป.วิชาชีพ กับ จป.เทคนิค มีอะไรบ้าง

by pam
731 views

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) เป็นผู้ตรวจสอบและส่งเสริมความปลอดภัย และสุขภาพในสถานที่ทำงาน มีหน้าที่หลักในการให้คำแนะนำเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและปัญหาทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน โดยเน้นการดำเนินการตามกฎหมายและมาตรฐานความปลอดภัย

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน มีทั้งหมด 5 ระดับ

โดยสายงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ จป.เทคนิค และ จป.วิชาชีพ วันนี้เราจะพามาดูข้อแตกต่างในการทำงาน

2.เปรียบเทียบความต่าง จป.เทคนิค และ จป.วิชาชีพ

เปรียบเทียบความต่าง จป.เทคนิค และ จป.วิชาชีพ

1.คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน

ในการจะเป็น จป.เทคนิค หรือ จป.วิชาชีพ มีคุณสมบัติในการทำงานในสายอาจชีพนั้นๆ ตามกฎหมาย ดังนี้

คุณสมบัติการเป็น จป.เทคนิค

หากคุณต้องการเป็น จป.เทคนิค คุณจำเป็นต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งจากคุณสมบัติ ดังนี้

  •  เคยเป็น จป.หัวหน้างาน มาก่อน ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง เพื่อที่สามารถเข้าอบรมหลักสูตร จป.เทคนิค และเมื่อผ่านการอบรมสามารถทำงานเป็น จป.เทคนิค ได้
  • สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
  • เคยเป็นจป.พื้นฐานตามประกาศกระทรวงแรงงานฯ

คุณสมบัติการเป็นจป.วิชาชีพ

หากคุณต้องการเป็น จป.วิชาชีพ คุณจำเป็นต้องมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งจากคุณสมบัติ ดังนี้

  • ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ในสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือมีคุณสมบัติเทียบเท่าตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
  • ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงอย่างน้อย 5 ปี และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และได้รับการประเมิน
  • ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์การทำงานในสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 หรือ 2 อย่างน้อย 5 ปี และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และได้รับการประเมินภายใน 5 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้
  • เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามกฎกระทรวงกาหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามพ.ศ. 2549
  • เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง พ.ศ. 2540 และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมินภายในห้าปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ
  • เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง พ.ศ. 2528 หรือเป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน พ.ศ. 2534 และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมินภายในห้าปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ

3.ความต่างบทบาทหน้าที่ของจป.เทคนิค และ จป.วิชาชีพ

ความต่างบทบาทหน้าที่ของ จป.เทคนิค และ จป.วิชาชีพ

ทั้ง จป.เทคนิค และ จป.วิชาชีพ ถูกสร้างขึ้นเพื่อดูแลความปลอดภัยของพนักงานในการทำงานเช่นเดียวกัน แต่มีบทบาทบางอันที่เหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน ดังนี้

บทบาทหน้าที่ในการทำงานที่เหมือนกัน

  1. ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย ในการทำงานอย่างปลอดภัย
  2. วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย และกำหนดมาตรการป้องกัน ขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
  3. แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือการทำงานอย่างปลอดภัย
  4. ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การประสบอันตรายการเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
  5. รวบรวมสถิติวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตรายการเจ็บป่วย ต่อนายจ้าง
  6. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอื่นๆตามที่นายจ้างมอบหมาย

บทบาทหน้าที่ในการทำงานที่ จป.วิชาชีพ ต้องทำมากกว่า

  1. ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยฯ ในการทำงาน
  2. วิเคราะห์แผนงานหรือโครงการ ข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ พร้อมเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
  3. ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นตามมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน
  4. แนะนำฝึกสอนและอบรมลูกจ้างเพื่อให้การปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย
  5. ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมหรือดำเนินการร่วมกับบุคคลหรือนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนหรือได้รับใบอนุญาตตามกฎหมาย
  6. เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

สรุป

จากการเปรียบเทียบความต่างด้านคุณสมบัติการทำงานและ บทบาทหน้าที่ในการทำงานของ จป.เทคนิค และ จป.วิชาชีพ เราก็จะเห้นได้ว่าคุณสมบัติ จป.เทคนิค เปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทำงานได้แต่ต้ิงผ่านการอบรมหลักสูตรถึง 2 หลักสูตร คือ จป.หัวหน้างาน จากนั้นจึงอบรมต่อด้วยหลักสูตร จป.เทคนิค แต่ในส่วนของ จป.วิชาชีพ ต้องเป็นผู้จบปริญญาตรี  ในส่วนของบทบาทหน้าที่ถึงจ ป.วิชาชีพ จะมีหน้าที่รับผิดชอบที่มากกว่า แต่ทั้งหน้าที่ของ จป.เทคนิคและวิชาชีพ ต่างถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงานเหมือนๆกัน

บทความที่น่าสนใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน

LINE

เพิ่มเพื่อน

Copyright @2024  All Right Reserved – Designed and Developed by thaisafe.net