อุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมีหลายประเภท ซึ่งบางกลุ่มอาจมีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ตามลักษณะการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมที่ทำงานทำให้กฎหมายได้ออกมากำหนด ในการแต่งตั้งตำแหน่ง “เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน” เพื่อเข้ามาช่วยประสานงานดูแลความปลอดภัยของพนักงานในองค์กรให้มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุน้อยลง
สถานประกอบการในบัญชี 1,2 และ 3 ตามกฎหมายมีอะไรบ้าง
โดยกำหนดตามกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ที่ได้แนบไว้ท้ายกฎหมายได้กำหนดประเภทองค์กรที่ต้องมี จป. ดังนี้
บัญชี 1
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ
บัญชี 2
- อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
- อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
- อุตสาหกรรมสิ่งทอ
- อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
- อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
- อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
- อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
- อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
- อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
- อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
- อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
- อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
- อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
- อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
- อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
- อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
- อุตสาหกรรมของเล่น
- อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
- อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
- อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
- อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
- อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
- อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
- สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
- คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
- การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
- อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
- อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
- การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
- อุตสาหกรรมการขนส่ง
- การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
- กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
- กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
- การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
- โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
- กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
- ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
- ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
- โรงพยาบาล
- การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
- การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
- สวนสัตว์หรือสวนสนุก
บัญชี 3
- ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
- ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
- การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
- โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
- โรงถ่ายทำภาพยนต์หรือละคร
- สวนพฤกษศาสตร์
- สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
- สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
- สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2
ต้องมี จป. แต่ละระดับกี่คน
เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยกันมาก ว่าองค์กรของตนต้องมี จป. ระดับอะไรบ้าง มีกี่คน มีเมื่อไหร่ ก่อนอื่นเลยไล่เรียงลำดับโดยพิจารณาจาก
- องค์กรของเราจัดอยู่ในบัญชีที่เท่าไหร่ มีกำหนดไว้ด้านบน (บัญชี 1,2 หรือ 3)
- ดูจำนวนพนักงานในองค์กรครบตามกำหนดหรือยัง (สามารถดูได้ทางช่องซ้ายของตาราง)
- จากนั้นไล่เรียงดูตำแหน่งที่องค์กรของเราต้องมี นอกจากนี้อย่าลืมดูเวลาการส่งลูกจ้างที่ถูกแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานในแต่ละระดับ เข้าอบรมให้ตรงกับหลักสูตรตามกฎหมาย
- เมื่อผ่านอบรมจะได้วุฒิบัตรสำหรับผู้ผ่านอบรม ต้องนำไปขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแต่ละจังหวัด (ตามที่อยู่ของจังหวัดโรงงานที่ทำงานอยู่) โดยส่งภายใน 30 วัน
แนะนำศูนย์ฝึกอบรม จป. ที่ได้มาตรฐาน
หากคุณกำลังมองหาศูนย์ฝึกที่ได้มาตรฐาน ได้รับอนุญาตในการจัดอบรมตามกฎหมาย สามารถนำวุฒิบัตรไปใช้ขึ้นทะเบียนได้อย่างแน่นอน เราขอแนะนำ ศูนย์ฝึกอบรมจป Thaisafe ที่ได้รวมหลักสูตรด้านความปอลดภัยมากมายไม่ว่าจะเป็น
- หลักสูตรจ ป. หัวหน้างาน
- หลักสูตร จป. บริหาร
- หลักสูตร คปอ.
ทั้งแบบอินเฮ้าส์ (เดินทางสอนถึงสถานที่) และแบบบุคคลทั่วไป (ผู้เข้าอบรมเดินทางมาที่ศูนย์ฝึก) สามารถเลือกดู หลักสูตรอบรม จป. <—ได้ที่นี่
สรุป
สำหรับทุกประเภทของอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ การมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยที่มีความรู้ความสามารถและความใส่ใจในการดูแลเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสถานที่ทำงานมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานและบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง