บทบาทหน้าที่ จป.บริหาร ตามกฎมหายใหม่ มีอะไรบ้าง

by thaisafeadmin
559 views

การที่จะเป็น จป.บริหาร ได้นั้นจะต้องผ่านการ อบรม จป.บริหาร ซึ่งการฝึกอบรมนี้จะต้องอบรมผ่านใต้สังกัดของบริษัทที่ตนเองอยู่เท่านั้นและต้องมีหนังสือแต่งตั้งว่าเป็นผู้บริหารในบริษัทนั้นจริง จึงจะสามารถขึ้นทะเบียนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายการ อบรม จป.บริหาร ไม่สามารถอบรมโดยไม่มีสังกัดได้

จป.บริหาร มีหน้าที่อะไรบ้างตามกฎหมาย

ตามกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 จป.บริหาร หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. กำกับดูแลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของตน
  2. เสนอแผนงานหรือโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
  3. ส่งเสริม สนับสนุนและติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ให้เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ
  4. กำกับดูแลและติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน คณะกรรมการความปลอดภัยหรือหน่วยงานความปลอดภัย

2.รายละเอียดการปฏิบัติหน้าที่ของ จป.บริหาร แต่ละข้อมี ดังนี้

ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดการปฏิบัติหน้าที่ของ จป.บริหาร แต่ละข้อมีดังนี้

1. กำกับดูแลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหารต้องรับผิดชอบในการกำกับดูแลทีมงานความปลอดภัยที่มีอยู่ในองค์กร โดยการให้คำแนะนำ กำกับและส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ระดับต่างๆ ของลูกจ้างให้มีความเข้าใจและปฏิบัติตามนโยบายและข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

2. เสนอแผนงานหรือโครงการด้านความปลอดภัย

หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร (จป.บริหาร) ต้องทำการวางแผนและเสนอโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความปลอดภัย รวมถึงการปรับปรุงนโยบาย กระบวนการทำงาน หรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น

3. ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดำเนินงาน

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหารต้องสร้างการร่วมมือระหว่างทีมงานความปลอดภัยและลูกจ้างทุกคนภายในองค์กร เพื่อให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามแผนหรือโครงการอย่างเหมาะสม

4.กำกับดูแลและติดตามการแก้ไขข้อบกพร่อง

ต้องมีการรับผิดชอบในการติดตามและกำกับดูแลให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง โดยการรับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน คณะกรรมการความปลอดภัย หรือหน่วยงานความปลอดภัย และดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านั้นอย่างเร่งด่วนและเหมาะสม

3.ทำไมต้องมีตำแหน่ง จป.บริหาร

ทำไมต้องมีตำแหน่ง จป.บริหาร

จป.บริหารเป็นตำแหน่งที่จัดให้ผู้บริหารขององค์กร เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการความปลอดภัยในการทำงาน เพราะผู้บริหารก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนความปลอดภัยให้ลูกจ้างได้มีสุขภาพกายและจิตใจที่ดีในการทำงาน โดยที่ผู้บริหารจะสามารถจัดการความปลอดภัยได้อย่างถูกต้องนั้นต้องมีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ตามมาตรฐานควรจะมีอะไรบ้าง จุดใดที่มีความเสี่ยงบ้างไม่ควรละเลยทำให้จึงต้องจัดให้มีตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร (จป.บริหาร) โดยมีกำหนดทางกฎหมายสถานประกอบการที่อยู่ใน บัญชี 1 2 3 ประกอบไปด้วยสถานประกอบการณ์ทั้งหมด 64 ประเภท ต้องมี จป.บริหารเมื่อมีจำนวนลูกจ้างครบตามกำหนดของบัญชีนั้นๆ

สรุป

จป.บริหารมีหน้าที่ช่วยในการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบในองค์กรที่มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสำหรับพนักงานและสถานประกอบการในทุกๆ ระดับ และทำให้มั่นใจได้ว่าการทำงานขององค์กรจะไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลที่ทำงานในองค์กรนั้นๆ ตลอดจนชุมชนและสังคมโดยรวม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน

LINE

เพิ่มเพื่อน

Copyright @2024  thaisafe.net Developed website and SEO by iPLANDIT