เสริมสร้างความรับผิดชอบในความปลอดภัย และหน้าที่ในการทำงานของ คปอ. พร้อมมอบวุฒิบัตรหลังผ่านอบรม
อบรม คปอ 12 ชั่วโมง พร้อมมอบวุฒิบัตร สมัครวันนี้ลด 40%
อบรม คปอ ตามหลักสูตรสากล พร้อมมอบวุฒิบัตร สมัครวันนี้ลด 40%
เสริมสร้างความรับผิดชอบในความปลอดภัย และหน้าที่ในการทำงานของ คปอ. พร้อมมอบวุฒิบัตรหลังผ่านอบรม
หลักสูตรคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ในการทำงาน
การอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ในการทำงาน เป็นหลักสูตรเพื่อสอนให้ผู้เข้าอบรม ได้เรียนรู้ความรับผิดชอบและบทบาทหน้าที่ในการทำงานที่ถูกต้อง เพื่อที่ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้งานด้านความปลอดภัยให้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีบริการอบรมดังนี้
คุณสมบัติวิทยากร
วิทยากรของเราทุกคนผ่านการขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการฯ
ระยะเวลาจัดอบรม
อบรม คปอ เป็นระยะเวลาจัด 2 วัน (12 ชั่วโมง)
เนื้อหาหลักสูตร คปอ
ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เนื้อหาตามกฎหมาย ครบ 3 หมวดวิชา
สถาบันฝึกได้รับอนุญาต
ได้รับการอนุญาตจากกรมสวัสดิการฯ สามารถจัดฝึกอบรม
หลักสูตรอบรม คปอ ตามหลักสากล
จัดอบรมตามกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ข้อ 43 ได้กำหนดให้ผู้เข้าอบรมต้องผ่านการฝึกตามที่กฎหมายกำหนดไม่ว่าจะเป็น เนื้อหาหลักสูตร การฝึกอบรม คุณสมบัติวิทยากรที่จัดฝึกอบรม จนถึงการดำเนินการจัดอบรม ซึ่งสถาบันฝึกอบรมของเราได้จัดการอบรมตามกฎหมายดังกล่าวให้ผู้เข้าอบรมสามารถขึ้นทะเบียนได้อย่างถูกต้อง
หลักสูตรอบรมจป อินเฮ้าส์
อบรม จป หัวหน้างาน อบรม จปบริหาร อบรม คปอ
พร้อมให้บริการ 77 จังหวัดทั่วไทย
จป. หัวหน้างาน
เรียนรู้การปฏิบัติงานและขอบเขตความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน (จป หัวหน้างาน)
25,000 บาท
จป. บริหาร
เรียนรู้การปฏิบัติงานและขอบเขตความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร (จป บริหาร)
25,000 บาท
จป. เทคนิค
เรียนรู้การปฏิบัติงานและขอบเขตความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค (จป เทคนิค)
69,500 บาท
คปอ.
เรียนรู้การปฏิบัติงานและขอบเขตความรับผิดชอบของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ในการทํางาน (คปอ.)
25,000 บาท
หลักสูตรอบรมจป บุคคลทั่วไป
พร้อมบริการจัดอบรม จป หัวหน้างาน จป บริหาร จป เทคนิค และ คปอ ที่ศูนย์อบรม 8 ทั้งจังหวัด
มกราคม – กุมภาพันธ์ 2568
พฤศจิกายน 67 – มกราคม 68
พฤศจิกายน 67 – มกราคม 68
มกราคม – กุมภาพันธ์ 2568
พฤศจิกายน – ธันวาคม 2567
มกราคม – กุมภาพันธ์ 2568
มกราคม – กุมภาพันธ์ 2568
มกราคม – กุมภาพันธ์ 2568
ราคา : จป หัวหน้างาน, จป บริหาร, คปอ : 2,300 บาท/ท่าน
ราคา จป เทคนิค : 7,300 บาท/ท่าน (ห้าง ทียู โดม ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต)
พิเศษ ชลบุรี !! ลด 30%
ราคา จป หัวหน้างาน จป บริหาร คปอ : 2,000 บาท/ท่าน
รายละเอียดเพิ่มเติม
- ราคาข้างต้นยังไม่รวม Vat 7%
- องค์กร/ บริษัท สามารถนำไปยื่นลดหย่อนภาษีได้ ร้อยละร้อย (200%)
- มีอาหารกลางวัน / ขนมพักเบรค
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมอบรม คปอ
- เป็นคณะกรมการความปลอดภัยในการทำงานขององค์กร
- ได้รับการยินยอมเข้าอบรม จากนายจ้าง
สิ่งที่ได้รับหลังฝึกอบรม
วุฒิบัตรยืนยันผ่านการอบรม
สามารถนำไปขึ้นทะเบียน กับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้
คู่มือเรียน
พร้อมมอบคู่มือการอบรมทั้งแบบเล่มและไฟล์ ให้คุณสามารถดาวน์โหลดคู่มือเรียนได้เสมอ
หลักสูตร คปอ เรียนอะไรบ้าง?
เนื้อหาหลักสูตร คปอ ถูกกำหนดตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรม คุณสมบัติวิทยากร และการดำเนินการฝึกอบรมคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ในการทำงาน ปี 2566 แบ่งออกเป็น 3 หมวดวิชาดังนี้
ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
- (ก) แนวคิดการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- (ข) แนวคิดการบริหารคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- (ค ) หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
- (ก) สาระสำคัญของพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565
- (ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้อง และการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ
ประกอบด้วยหัวข้อวิชา
- (ก) การจัดทำนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- (ข) การจัดทำแนวทางการป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย จากการทำงานของลูกจ้าง
- (ค) การจัดทำระบบการรายงาน เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางการปรับปรุงแก้ไข สภาพการทำงานของลูกจ้าง
- (ง) การส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน
- (จ) การพิจารณาคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- (ฉ) การสำรวจด้านความปลอดภัยในการทำงาน
- (ช) การพิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
- (ซ) การประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน
- (ฌ) การประชุมและการติดตามงาน
คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน คือใคร?
คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน คือ กลุ่มผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน โดยผ่านการอบรม ตามกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมาจากผู้แทนทั้งฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้างในสัดส่วนที่ต่างกันไปตามจำนวนลูกจ้าง และมีวาระรุ่นละ 2 ปี โดยจำนวน นั้นจะแตกต่างกันไปตามจำนวนลูกจ้างในองค์กร
สัดส่วน คปอ ตามกฎหมายกำหนด
ในแต่ละสถานประกอบการ กฎหมายได้มีข้อกำหนดสัดส่วน คปอ ในองค์กรตามจำนวนพนักงานในองค์กรนั้นๆ ซึ่งมีดังนี้
- จำนวนพนักงานตั้งแต่ 50-99 คน ต้องมีจำนวน ไม่น้อยกว่า 5 คน
- จำนวนพนักงานตั้งแต่ 100-499 คน ต้องมีจำนวน ไม่น้อยกว่า 7 คน
- จำนวนพนักงานตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป ต้องมีจำนวน ไม่น้อยกว่า 11 คน
บทบาทหน้าที่ คปอ ในการทำงานตามกฎหมาย
คปอ มีบทบาทหน้าที่ในการทำงานด้านความปลอดภัยในองค์กรตามกฎหมายกำหนด มีดังนี้
- จัดทำนโยบายนำเสนอต่อนายจ้าง: มีหน้าที่จัดทำนโยบาย เป็นแนวทางที่จะชี้นำการดำเนินงานทั้งหมดในด้านความปลอดภัย ในการทำงานขององค์กร เพื่อให้เข้าใจและปฏิบัติตามกันทุกคนในองค์กร
- จัดแนวทางการป้องกัน: การจัดทำและเสนอแนวทางการป้องกันความเสี่ยงเป็นการช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ อันตราย หรือการเจ็บป่วยในสถานที่ทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่คณะกรรมการต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
- ทำรายงานและเสนอแนะ: จัดทำรายงานและข้อเสนอแนะมาตรการ ที่เหมาะสมกับการทำงาน ให้นายจ้างได้ทราบถึงสถานะและการปฏิบัติตามกฎหมายในด้านความปลอดภัย เพื่อให้ลูกจ้างหรือผู้เข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการมีความปลอดภัยอยู่เสมอ
- ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรม: สร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยและสนับสนุนการปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในองค์กร
- พิจารณาคู่มือ: การพิจารณาคู่มือเกี่ยวกับความปลอดภัย เป็นการประเมินและปรับปรุงการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักของกฎหมายและมาตรฐาน โดยต้องจัดทำคู่มือเสนอต่อนายจ้าง
- สำรวจการปฏิบัติงานของลูกจ้างและรายงานผลสำรวจ: ทำการตรวจสอบว่าพนักงานมีการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเหมาะสมหรือไม่ และถ้าทำแล้วยังมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นอีก ซึ่งต้องทำรายงานเพื่อนำไปพิจารณาคู่มือปฏิบัติงานต่อไป
- พิจารณาโครงการฝึกอบรม: การพิจารณาและจัดทำโครงการฝึกอบรมเป็นการเตรียมพร้อมบุคลากรที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้านความปลอดภัย ของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้างและบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
- จัดระบบให้ลูกจ้างทุกระดับมีหน้าที่รายงานความปลอดภัย: การจัดระบบที่เหมาะสมเพื่อให้ลูกจ้างทุกระดับสามารถรายงานสถานะการทำงานที่ไม่ปลอดภัยได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
- ติดตามผลการดำเนินงาน: การติดตามและรายงานผลการดำเนินงานต่อนายจ้าง ว่ามีการปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการที่กำหนดไว้หรือไม่ และปฏิบัติแล้วให้ผลลดจำนวนอุบัติเหตุลงหรือไม่
- รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวัน: การรายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการความปลอดภัย เมื่อครบ 1 ปีต้องนำเสนอต่อนายจ้าง
- ทำประเมินผลการดำเนินงานความปลอดภัย: การประเมินผลการดำเนินงานความปลอดภัยในการทำงานขององค์กร เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานต่อไป
- ปฏิบัติงานด้านอื่น: มีหน้าที่ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้างเพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงานขององค์กร
ข้อมูลที่น่าสนใจ
บัญชี 1
- อุตสาหกรรมทำเหมือง
- อุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปิโตรเคมี กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การแยกก๊าซธรรมชาติ
บัญชี 2
- อุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ เช่น อาหาร เครื่องดิ่ม สิ่งพิมพ์ ยาสูบ สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย เครื่องหนัง
- อุตสาหกรรมไม้ แปรรูปกระดาษ
- อุตสาหกรรมเคมี / เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์แพทย์
- อุสาหกรรมยาง พลาสติก โลหะ
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องมือกล
- ธุรกิจติดตั้ง ซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
- อุตสาหกรรมรถยนต์ ยานพาหนะ อุปกรณ์รถยนต์
- อุตสาหกรรมเฟอร์นิเตอร์ เครื่องประดับ อุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย ของเล่น
- อุตสาหกรรมเครื่องมือการแพทย์
- บริการทดสอบ วิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
- อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง และการจ่ายไฟฟ้า
- อุตสาหกรรมผลิต / บรรจุก๊าซ ผลิตถ่านโค้ก
- อุตสาหกรรมผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
- อุตสาหกรรมเพราะปลูก เลี้ยงสัตว์
- ปั๊มน้ำมัน ธุรกิจค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
- ธุรกิจกำจัดของเสีย บำบัดน้ำเสีย การนำวัสดุที่ใช้แล้วผลิตมาใช้ใหม่
- อุตาสหกรรมชุดแร่ ร่อนแร่ รายย่อย
- ธุรกิจก่อสร้าง ซ่อมแซม รื้อถอนอาคาร
- อุตสหกรรมขนส่ง
- ธุจกิจการเดินอากาศ
- ธุรกิจคลังสินค้า ไซโล ห้องเย็น
- ธุรกิจโทรคมนาคม จัดคลื่นความถี่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์
- โรงแรม อาคารชุด
- ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ศูนย์ประชุมจัดแสดงสินค้า
- สวนสัตว์ สวนสนุก
บัญชี 3
- ธุรกิจการเงิน ตลาดหลักทรัพย์ สหกรณ์ ประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย
- โรงรับจำนำ
- โรงถ่ายทำภาพยนตร์ / ละคร
- สวนพฤษาศาสตร์ สนามกีฬา สวนสนุก
- สถานที่มีการจัดแสดงบันเทิง มีอาหารน้ำดิ่มขายในงาน
- สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2
ในการคัดเลือกตำแหน่งคปอ ภายในสถานประกอบกิจการนั้นสามารถทำได้ 3 วิธีดังนี้
การเลือกคณะกรรมการจากนายจ้าง: คณะกรรมการ คปอ ที่ถูกเลือกโดยนายจ้าง ซึ่งผู้ที่ถูกเลือกจะต้องผ่านการอบรมคปอ
การเลือกคณะกรรมการจากผู้แทนลูกจ้าง: คณะกรรมการคปอที่เป็นผู้แทนลูกจ้างจะถูกเลือกโดยลูกจ้าง ซึ่งผู้ถูกเลือกต้องเข้าอบรม คปอ ต่อไป
การเลือกคณะกรรมการจากเลขานุการที่มีความรู้และทักษะทางวิชาชีพ: คณะกรรมการ คปอ ที่เป็นเลขานุการจะถูกเลือกจากบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพหรือเทคนิคขั้นสูง โดยผู้ที่สนใจจะต้องเข้า อบรม คปอ ต่อไปเพื่อเข้ารับตำแหน่งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
นายจ้างหรือหน่วยฝึกอบรม ต้องส่งรายงานต่อกรมสวัสดิการฯ ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยตำแหน่ง คปอกำหนด ภายใน 30 วัน มีวิธีการส่งรายงานดังนี้
- 1. ส่งรายงานทางไปรษณีย์
- 2. เดินทางไปส่งรายงานถึงกรมสวัสดิการฯ ด้วยตนเอง
- 3. ส่งรายงานทางออนไลน์ ซึ่งคุณสามารถนำส่งได้แล้วที่นี่ —-> ขึ้นทะเบียนออนไลน์
ผู้ที่ถูกเลือกให้เป็น คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน (คปอ.) ในองค์กรต้องเข้าอบรม คปอ ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันถูกแต่งตั้ง
สถานบันฝึกอบรมของเรา ได้รับรองมาตรฐานศูนย์ฝึก
เราได้รับการรับรองจาก ISO 9001 และได้รับการอนุญาตเปิดการอบรม จป คปอ ตามกฎหมาย โดยมีประสบการณ์ฝึกสอนให้กับลูกค้าชั้นนำมากมาย
จัดโปรโมชั่น พิเศษ
สมัครวันนี้ลดทันทีส่วนลดพิเศษ
คปอ.
อินเฮ้าส์
- มอบวุฒิบัตร
- คู่มือเรียนฟรี!
- พร้อมเดินทางทั่วไทย
คปอ.
บุคคลทั่วไป
- มอบวุฒิบัตร
- คู่มือเรียนฟรี!
- มีอาหารกลางวัน
เพิ่มเติม : หลักสูตรแบบบุคคลทั่วไปปัจจุบันเปิดสอนจังหวัด ปทุมธานี (รังสิต), กรุงเทพมหานคร (ดินแดง), สระบุรี (หินกอง), ชลบุรี (บางแสน), ปราจีนบุรี (นิคม 304), สมุทรปราการ (อ.เมือง), นครราชสีมา (อ.เมือง) และ นครปฐม (อ.เมือง)