ในสถานประกอบการบางประเภทมีความเสี่ยงต่อผู้ปฏิบัติงานในองค์กรนั้นๆ แตกต่างกันออกไป ซึ่งมีสถานประกอบการบางประเภทจัดอยู่ในระดับความเสี่ยงมากที่ถึงขั้นอาจเกิดการเสียชีวิตในการทำงานและมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากสถานประกอบการเหล่านี้เป็นจำนวนมากกว่าสถานประกอบการอื่นๆ
จากเหตุผลนี้ทำให้เกิดกฎหมายกำหนดเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน คือ กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ที่ได้จัดสถานประกอบการแต่ละระดับอยู่ใน บัญชี 1 2 3 เรียงตามความเสี่ยงอันตรายจากมากไปน้อย
โดยสถานประกอบการแต่ละบัญชีจะกำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานแต่ละระดับแตกต่างกันออกไปตามประเภท บัญชี และจำนวนพนักงานในองค์กร ระดับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานจะแบ่งออกเป็น 5 ระดับ
ระดับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานจะแบ่งออกเป็น 5 ระดับ
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน (จป.หัวหน้างาน)
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร (จป.บริหาร)
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค (จป.เทคนิค)
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง (จป.เทคนิคขั้นสูง)
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
ซึ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยแต่ละระดับต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่เกี่ยวข้องก่อน ถึงสามารถเข้ารับตำแหน่งนั้นๆ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ได้กำหนดเกณฑ์ของผู้เข้าอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานแต่ละระดับไว้ ดังนี้
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม จป. คปอ. มีอะไรบ้าง
1.คุณสมบัติผู้เข้าอบรม จป.หัวหน้างาน
- เป็นลูกจ้างที่ถูกแต่งตั้งเป็นระดับหัวหน้างานขององค์กร
- ได้รับความยินยอมจากนายจ้างในการอบรม จป.หัวหน้างาน
- ไม่กำหนดขั้นต่ำวุฒิการศึกษา
2.คุณสมบัติผู้เข้าอบรม จป.บริหาร
- เป็นลูกจ้างที่ถูกแต่งตั้งเป็นระดับบริหารขององค์กร
- ได้รับความยินยอมจากนายจ้างในการอบรม จป.บริหาร
- ไม่กำหนดขั้นต่ำวุฒิการศึกษา
3.คุณสมบัติผู้เข้าอบรม จป.เทคนิค
- ได้รับการยินยอมเข้าอบรมจากองค์กร
- ไม่กำหนดวุฒิการศึกษา
4.คุณสมบัติผู้เข้าอบรม จป.เทคนิคขั้นสูง
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่า ปวท. ปวส. ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง อนุปริญญา หรือเทียบเท่า
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่า ม.6 (มัธยมศึกษาปีที่6) หรือ ปวช. (ระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพ) โดยมีประสบการณ์ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน (จป.หัวหน้างาน) มาไม่น้อยกว่า 5 ปี
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่า ม.6 (มัธยมศึกษาปีที่6) หรือ ปวช. (ระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพ) โดยมีประสบการณ์ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค (จป.เทคนิค)มาไม่น้อยกว่า 5 ปี
5.คุณสมบัติ จป.วิชาชีพ
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับนี้ไม่มีการอบรมโดยเฉพาะแต่จะเป็นการอบรมในระดับอื่นมาก่อนที่จะขึ้นมาทำงานในระดับวิชาชีพซึ่งมีคุณสมบัติการเป็น จป.วิชาชีพ ดังนี้
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
- มีประสบการณ์ทำงาน
- เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง (จป.เทคนิคขั้นสูง)มาไม่น้อยกว่า 5 ปี
- เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540
6.คุณสมบัติผู้เข้าอบรม คปอ.
- เป็นคณะกรมการความปลอดภัยในการทำงานขององค์กร
- ได้รับการยินยอมเข้าอบรม จากนายจ้าง
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนจป คปอ.
1.นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างรับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานในระดับต่างๆ ที่องค์กรต้องการ
2.ส่งลูกจ้างที่ถูกแต่งตั้งเข้าอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด
3.เมื่อผ่านการอบรม และการทดสอบในหลักสูตรนั้นๆ ผู้เข้าอบรมจะได้วุฒิบัติที่จะนำไปยื่นเพื่อขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแต่ละจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่
เอกสารที่ใช้ยื่นขึ้นทะเบียน จป. คปอ.
- (1) แบบแจ้งชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
- (2) สำเนาหนังสือแต่งตั้ง จป.
- (3) สำเนาใบรับรองผ่านการฝึกอบรม จป. (เฉพาะที่ผ่านการอบรม จป.)
- (4) สำเนาบัตรประชาชนของ จป.
- (5) สำเนาเอกสารแสดงวุฒิการศึกษาของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (กรณี การขึ้นทะเบียน จป.เทคนิค และ จป.เทคนิคชั้นสูง)
ในกรณีมอบอำนาจ
- (1) หนังสือมอบอำนาจ รับรองสำเนา
- (2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจซึ่งลงลายมือชื่อ รับรองสำเนา
ซึ่งสามารถดาวน์โหลดเอกสารดังกล่าวได้ —–> ที่นี่